วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

เด็กไทยติด “สมาร์ทโฟน” กับดักเทคโนโลยีบนความอยาก

 เด็กไทยติด “สมาร์ทโฟน” กับดักเทคโนโลยีบนความอยาก

« เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 08:32:15 PM »
โดย...สานนท์ เจริญพันธุ์
       
      เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารที่รุดหน้าไปอย่างก้าวกระโดด ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย

ให้แก่ผู้ใช้งาน แม้เดินทางไปที่ใดไม่มีโน๊ตบุคส์ติดมือ เพียงแค่มีสมารท์โฟน หรือแท็บเล็ตสักเครื่อง
ก็ช่วยให้ชีวิตการทำงาน การสื่อสารระหว่างกันง่ายขึ้นผ่านใช้งานด้วยวิธีการ “แชท” ผ่านแอปพลิเคชัน
 อาทิ ไลน์ วอทซ์แอป หรือบีบี เท่านี้ก็รู้เรื่องโดยไม่ต้องยกหูส่งเสียงเช่นที่ผ่านมา
       
       ที่สำคัญปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้าเหล่านี้ยังส่งผลต่อกลุ่มวัยรุ่นยุค ศตวรรษที่ 21 ที่เกิดมาในยุค

ของความรุ่งเรืองของเทคโนโลยีต่างไปจากยุคก่อนๆ ที่สิ่งเหล่านี้เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตแบบก้ำกึ่ง ดังนั้น 
ทุกวันนี้หันไปทางใดก็จะเห็นว่ากลุ่มวัยรุ่นทุกคนล้วนมีสมาร์ทโฟนคู่ใจราคา สูงลิ่วที่บรรดาพ่อแม่ยอม
ควักเงินซื้อให้ถือติดมือทั้งนั้น บางรายมีถึง 2 เครื่องแม้จะคนละยี่ห้อก็ตาม และด้วยคุณสมบัติชั้นเลิศ
ตามที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลให้เด็กวัยรุ่นพกพาไปทุก ที่ แชททุกเวลาไม่เว้นแม้แต่ในห้องเรียน
       
      “นั่งหลังห้อง แอบเล่นใต้โต๊ะ บ้างก็แชทคุยกับแฟน ร้ายไปกว่านั้นก็จะขออนุญาตไปเข้าห้องน้ำบ้าง 

แกล้งป่วยบ้าง แล้วไปนั่งเล่น เปิดเครื่องแชทกันทั้งวัน” คำบอกเล่าบางส่วนจากนายอนุสรณ์ กะดามัน
 ครูผู้สอนภาษาไทย โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
       
       ครูอนุสรณ์ บอก ด้วยว่า เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีในปัจจุบันเอื้อประโยชน์ต่อการให้เด็กนำไปใช้เพื่อ

การค้นคว้าหาความรู้ ได้ง่ายขึ้น แต่ปรากฎว่ามีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะใช้ประโยชน์ในสิ่งนี้ ส่วนมาก
เด็กนำมาใช้เพื่อเล่นเกมฟังเพลงในชั้นเรียน ซึ่งประสบการณ์ตรงในฐานะครูผู้สอนนั้น ตนเห็นได้ชัดว่า
นักเรียนมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ไม่ตั้งใจเรียน บางรายติดแชทตลอดเวลาที่เรียน ไม่สนใจในการเรียนขา
สมาธิ พอสอบถามเรื่องที่เรียนก็ตอบไม่ได้ เพราะเอาสมาธิที่มีไปสนใจกับการแชท พอถึงเวลาสอบก็
ทำไม่ได้ก็ปรากฎว่าการเรียนตกไปกว่าที่เคย ซ้ำร้ายไปกว่านั้นผู้ปกครองไม่เข้าใจว่าเหตุใดผลการเรียน
ลูกตกก็ไม่ได้คิด ว่าเพราะลูกไม่ตั้งใจ แต่เชื่อที่ลูกบอกว่าที่ผลการเรียนตกลงต้นเหตุเพราะครูสอนไม่เข้า
ใจ
       
      สิ่งที่ตนเป็นห่วงที่สุด คือ การที่ผู้ปกครองซื้อสมาร์ทโฟนราคาสูงให้เด็กใช้เป็นการสร้างค่านิยมผิ
ด 

 สร้างความฟุ้งเฟ้อใช้ของเกินตัวซึ่งยังไม่เหมาะสมกับวัย แล้วเมื่อมีของก็นำมาอวดกันในหมู่เพื่อน
       
       ในมุมกลับกัน ผศ.ดร.ปนัดดา ชำนาญสุข อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา

 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ มุมมองเพิ่มเติมว่า ตอนนี้เลยเวลาที่จะมาตั้งคำถามแล้วว่าเด็กควร
ใช้หรือไม่ใช้สมาร์ทโฟน เพราะยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี อีกทั้งเวลานี้ประเทศไทยได้สนับสนุนและ
กระตุ้นให้เด็กใช้เทคโนโลยี เช่น เด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ก็ใช้แท็บเล็ตในการเรียนแล้ว เพราะฉะนั้น 
 เทคโนโลยีจึงมีความจำเป็นสำหรับเด็กทุกวัย
       
      “แต่ผลเสียที่เกิดขึ้นต้องมีแน่นอน คือเราพัฒนาให้เด็กไทยรู้จักเทคโนโลยี เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่าย 

หมายถึงหาซื้อได้ง่ายและกลายเป็นกระแสแห่งความถูกต้องชอบธรรมที่เด็กจะใช้ เทคโนโลยี แต่ข้อเสีย
ก็คือเราไม่ได้พัฒนามิติของวุฒิภาวะของเด็กเลย เรื่องของสำนึกความรับผิดชอบ เด็กไทยยังต่ำมากแล้ว
ก็ถูกละเลยจากครอบครัว จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นโรงเรียน หรือหน่วยงานที่พัฒนาเยาวชน 
ไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจนหรือแผนการที่ชัดเจน ในยุทธศาสตร์ของการพัฒนาวุฒิภาวะ ความรับผิดชอบ
ในตนเอง การยับยั้งชั่งใจ การใช้สติพิจารณาตนเอง เด็กไทยถือว่าต่ำมาก เพราะฉะนั้นพอเราไปกระตุ้น
การใช้เทคโนโลยี สร้างความชอบธรรม แต่ในขณะที่วุฒิภาวะของเด็กน้อย ผลเสียมันก็จะตามมาคือเด็ก
จะใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การแชท เล่นเกม ในห้องเรียน”
       
       อ.ปนัดดา บอก ด้วยว่า กรณีที่เด็กเล่นโทรศัพท์หรือติดเทคโนโลยีจนขาดสมาธิและความตั้งใจ

ในการเรียน นั้นเพราะเด็กเหล่านี้ขาดวุฒิภาวะ แต่คนที่จะใช้เทคโนโลยีได้ต้องมีวุฒิภาวะ เช่นคุณจะอ่าน
หนังสือคุณต้องปิดโทรศัพท์ แต่เด็กเหล่านี้ไม่ได้ถูกสอนเรื่องวุฒิภาวะมา คุณต้องมีความรับผิดชอบ 
 มีวินัยต่อตนเอง เด็กไทยไม่ได้ถูกฝึกในส่วนนี้ พ่อแม่ โรงเรียน หรือทักษะทางสังคมไม่ได้ช่วยสร้างปัจจัย
ในการฝึกฝนให้เด็กรู้จักแยกแยะ แบ่งเวลาที่เหมาะสม ทำให้เวลาเรียนแทนจะสนใจตั้งใจเรียน 
 ก็อาจจะเบนความสนใจไปที่การแชทพูดคุยกับเพื่อนมากกว่า
       
      “ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องโทรศัพท์อย่างเดียว แต่สังคมไทยในยุคนี้เป็นยุคของทุนนิยม รวมถึงการถูก

กระตุ้นจากระบบทางการตลาด ซึ่งในบางประเด็นรัฐก็เป็นผู้ส่งเสริมทำให้ความต้องการในเรื่องของ
เทคโนโลยี มีมากขึ้น สำหรับคนที่ไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ ขาดความห้ามใจก็อาจจะตกเป็นเหยื่อของ
การตลาดได้ง่าย และการที่รัฐไปมุ่งเน้นไปในเรื่องกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป ก็อาจทำให้หลงลืมบท
บาทในการพัฒนาสังคมและเยาวชน”อ.ปนัดดา กล่าวทิ้งท้าย


ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น